“Kaizen” แนวคิดนี้ ไม่เก่าเลย
เมื่อพูดถึงคำว่า Kaizen ที่ภาษาไทยเรามักจะแปลกันว่า “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” และในภาคภาษาอังกฤษคือ
“Continuous Improvement” หรือว่าเป็น “Endless
Improvement” ก็มี ดูเหมือนว่าในระยะหลังมานี้จะเงียบลงไปบ้างนะครับ
สาเหตุอาจเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่ชะงักงันมานาน
ทำให้แนวคิดหรือเทคนิคของแดนปลาดิบนี้ ได้รับความสนใจลดน้อยลงไป ไม่เหมือนกับระยะก่อนหน้านี้
ที่เทคนิคต่างๆจากทางญี่ปุ่น ดูจะได้รับความสนใจมาก
อย่างไรก็ตาม ในงานสัมมนาที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติพึ่งจัดไปในหัวข้อ “Practical
Way to Improve Productivity : Kaizen
ปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง” ที่ผ่านมา
ก็ยังได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง แสดงว่าแนวคิดของ Kaizen ยังคงได้รับความสนใจอยู่อีกมาก
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุดึงดูดให้มีผู้มาเข้าร่วมงานสัมมนามาก
ก็คือวิทยากรรับเชิญ อาจารย์ Hajime Suzuki ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาแนะนำให้กับองค์กรต่างๆมากมายทั้งในประเทศญี่ปุ่น
และประเทศอื่นๆ อาจารย์เคยมาเป็นที่ปรึกษาประจำสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติระยะก่อตั้ง
ในฐานะตัวแทนผู้เชี่ยวชาญจาก ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศญี่ปุ่น (JPC-SED:Japan Productivity
Center for Socio Economy
Development) เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับวิทยากรที่ปรึกษาของสถาบัน
ปัจจุบันอาจารย์มีบริษัทที่รับให้คำปรึกษาด้านการเพิ่มผลผลิตให้กับบริษัทในหลายประเทศ
รวมถึงในประเทศไทยด้วย
สำหรับตัวผมเอง ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาในบทบาทของผู้ช่วยวิทยากร โดยบรรยายสรุปเป็นภาษาไทยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
จึงเห็นว่าเนื้อหาหลายๆส่วนมีประโยชน์มากและน่าจะได้รับการเผยแพร่ต่อไป นอกเหนือจากในเวทีสัมมนาที่ผ่านมา
จึงขอสรุปประเด็นสำคัญๆที่อาจารย์ได้บรรยายไว้ และอาจเสริมเนื้อหาบางส่วนที่น่าจะทำให้เข้าใจความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้นนะครับ
อาจารย์เริ่มต้นด้วยแนวคิดของ Kaizen
ว่า แต่เดิมนั้น แนวคิดของ Kaizen เป็นสิ่งที่อยู่ในจิตสำนึกของหลายองค์กรว่า
จะต้องพยายามปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น แต่ไม่ได้ถูกพูดถึงอย่างเป็นระบบ จากนั้นชื่อนี้กลายเป็นที่ติดหูขึ้นมากจากหนังสือ
“Kaizen” ที่เขียนโดย Masaki Imai ซึ่งอาจารย์ก็แนะนำว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านอย่างมาก จะทำให้เกิดความเข้าใจถึงแนวคิดทั่วไปของ
Kaizen ได้ดี แต่สิ่งที่หนังสือขาดไปไม่ได้กล่าวถึงชัดเจนคือ จะเริ่มหรือปฏิบัติ
Kaizen ได้อย่างไร?
ซึ่งอาจารย์เน้นและกล่าวถึงบ่อยในงานสัมมนาครั้งนี้ โดยใช้คำว่า ”Practical”
หรือสื่อได้ว่า เชิงปฏิบัติหรือการนำไปใช้จริง
โดยอาจารย์หวังว่าเนื้อหาในการสัมมนานี้
จะเป็นหลักการที่นำไปปฏิบัติให้เกิดผลประโยชน์ขึ้นจริงได้
อาจารย์ได้แบ่งผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาด้านการ Kaizen ออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับของการนำไปใช้ ตั้งแต่ ระดับแรก เป็นกลุ่มทั่วไป
คือเรียนรู้เทคนิคต่างๆมากมายแต่ยังไม่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงเท่าใดนัก
ถัดมาใน ระดับที่ 2 สามารถปรับปรุง แต่ผู้อื่นไม่สามารถเข้าใจตามไปด้วยได้ง่าย
เพราะใช้ศัพท์แสงต่างๆมากมายและเน้น เครื่องมือ (Tools) เป็นหลัก ส่วนใน ระดับสูงสุดที่ 3 คือสามารถปรับปรุงได้ด้วย
“สิ่งพื้นฐาน (Basics)”
ทั้งแนวคิดและเครื่องมือที่เลือกใช้
ทำให้สามารถสร้างความมีส่วนร่วมจากผู้อื่นได้ง่าย ซึ่งแนวทางที่อาจารย์แนะนำจะเป็นไปตามแนวทางนี้
จากนั้นอาจารย์ Suzuki ได้ชี้ให้เห็นถึงจุดเด่นของแนวคิด Kaizen ที่ทำให้แตกต่างจากการปรับปรุงในวิธีการสมัยเก่า
ที่มักจะเน้นแต่การปรับปรุงใหญ่ๆ ต้องมีการลงทุนเป็นหลักหรือต้องผ่านงานวิจัยและพัฒนา
( R&D : Research & Development ) เช่น ใช้เทคโนโลยีใหม่
เครื่องไม้เครื่องมือใหม่ กระบวนการแบบใหม่ ในที่นี้ ใช้คำที่เรียกการปรับปรุงลักษณะอย่างนี้ว่า
“Innovation” หรือ ที่เราแปลว่า “นวัตกรรม” ภาระของการทำนวัตกรม มักเป็นของระดับบริหาร
หรือผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สำหรับพนักงานทั่วไปก็มักเป็นเพียงผู้ที่ทำงานประจำ
หรือรักษาสภาพให้เป็นไปตามที่หัวหน้าได้กำหนดไว้
ไม่มีส่วนร่วมกับการปรับปรุงมากนัก
ปัญหาของการปรับปรุงเช่นนี้คือ แม้เพียงการรักษาสภาพก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ในความเป็นจริงสภาพที่ดีมักจะค่อยๆตกลง
และจะมาดีขึ้นเมื่อเกิด Innovation ขึ้นในครั้งถัดไป แนวคิดของ Kaizen จึงเข้ามาเสริมจุดอ่อนที่เกิดขึ้นตามลักษณะข้างต้นนี้คือ
เป็นการปรับปรุงทั้งที่เป็นไปเพื่อการรักษาสภาพ และปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทีละเล็กทีละน้อย
ผสมผสานไปกับกับการปรับปรุงแบบก้าวกระโดดหรือ Innovation
ดังนั้นที่สุดแล้ว การปรับปรุง Productivity
ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับไหน ต้องประกอบครบทั้ง 3 ส่วนหรือเขียนเป็นสมการได้อย่างนี้คือ
Productivity
Improvement = Maintenance + Kaizen + Innovation
ระหว่างที่เนื้อหามาถึงตรงนี้ อาจารย์ก็กล่าวว่ามี ความเข้าใจผิด อย่างมากประการหนึ่งที่เกิดกับผู้บริหาร
คือ ความคิดที่ว่า การรักษาสภาพ และ Kaizen
นั้น เป็นเรื่องหรือความรับผิดชอบของพนักงานระดับล่าง
ผู้บริหารไม่เกี่ยว อาจารย์ย้ำว่า ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงบทบาทตนเองกับการ Kaizen
ด้วยว่า สิ่งที่ต้องทำคือการสนับสนุนให้พนักงานสามารถทำงานของตนเองได้อย่างเต็มที่
เช่น การให้งบประมาณสนับสนุน การอบรมพัฒนาความรู้ให้กับพนักงาน
การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการปรับปรุงขึ้น
และจากสมการข้างต้น ถ้านำตัว Kaizen
มาขยายความต่ออีกที จะสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ลักษณะ
Kaizen = Idea
Kaizen + System Kaizen + Engineering Kaizen
ตัวแรก Idea Kaizen จะเป็นการปรับปรุงที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเวลาพูดถึง Kaizen ทั่วไป
มักจะคิดถึงตัวนี้เป็นหลัก ตัวถัดมาคือ System Kaizen เป็นเรื่องของการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาและหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขได้ถูกต้อง
ซึ่งเนื้อหาในการสัมมนาหลังจากนี้ จะเน้นในเรื่องของ System Kaizen นี้เป็นหลัก ส่วนตัวสุดท้าย Engineering Kaizen เป็นเรื่องทางเทคนิคที่อาจแตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรมหรือ ธุรกิจที่องค์กรทำอยู่
ในหลายกรณีที่เป็นเรื่องใหญ่ก็คงจะคาบเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนวัตกรรมด้วย
ในการสัมมนามีแผ่นใสอันหนึ่งที่เป็นเนื้อหาของหลักคิดพื้นฐานของ Kaizen หนึ่งข้อที่ผมว่าน่าสนใจ
และสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนในองค์กรคือ
แนวคิดทั่วไป
กำไร = ขาย – ต้นทุน (มองพนักงานว่าเป็น
“ต้นทุนแรงงาน” ในต้นทุนรวม)
แนวคิด Productivity
การเพิ่มผลผลิต = มูลค่าเพิ่ม
(Value-Added) = ขาย – ต้นทุนที่ต้องหามาจากภายนอก
(พนักงานเป็น “ทรัพยากร” หรือ ”สินทรัพย์” ขององค์กรในการสร้างมูลค่าเพิ่ม)
(พนักงานเป็น “ทรัพยากร” หรือ ”สินทรัพย์” ขององค์กรในการสร้างมูลค่าเพิ่ม)
รับวัตถุดิบ
|
การผลิต /
Operation
|
การส่งมอบ
|
ความสูญเสีย,ของเสีย
งานที่ได้คุณภาพ
|
เทคโนโลยีที่เหมาะสม
|
การพัฒนาพนักงานในองค์กร
|
การบริหารจัดการที่เหมาะสม
|
ภาพด้านบนเป็นแผนภาพพื้นฐานของกระบวนการในองค์กรทั่วไป
ที่มีตั้งแต่กระบวนการรับวัตถุดิบจนกระทั่งส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า
องค์ประกอบแห่งแนวทางการปรับปรุงแบ่งเป็น 3 ด้านคือ เทคโนโลยีที่เหมาะสม การบริหารจัดการที่เหมาะสม และ
การพัฒนาพนักงานในองค์กร ซึ่งเนื้อหาแนวคิดของ Kaizen ต่อไปจะเน้นในเรื่องของการบริหารจัดการเป็นหลัก
เพราะสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกองค์กร
ในด้านของการบริหารจัดการที่เหมาะสม อาจารย์ได้นำเสนอแนวทางปฏิบัติ ที่เป็นสิ่งที่ไม่ยากซับซ้อน
และสามารถนำไปใช้ได้จริง แบ่งเป็นประเด็นหลัก 3 ส่วนคือ
II. การค้นหาปัญหาอย่างมีประสิทธิผล (Effective
Problem Finding)
1.) การวิเคราะห์กระบวนการ (Process
Analysis)
2.) การจัดเก็บและแยกแยะข้อมูล (Stratified Data Collection)
3.) 3
Gen : Genba Genbutsu Genjitsu ( 3 จริง – สถานที่จริง ของจริง ความจริง )
4.) 3
Mu : Muri (ไม่เป็นธรรมชาติ,หนักเกินไป) Mura (ความไม่สน่ำเสมอ)
Muda (ความสูญเสีย)
III. การแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิผล
(Effective Problem Solving)
1.) สภาพการทำงานที่ดี (Best
Conditions)
2.) การปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง (Flow
Production / Opeartion)
3.) การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual
Control)
4.) วงจร PDCA – Plan Do Check
Act
ส่วนแรก แนวทางเชิงปฏิบัติ ได้ขยายความพูดถึงเป็น 2 เรื่อง “Critical
Issue Oriented” และ “Pilot Area” อาจารย์เสนอว่าการดำเนินการ Kaizen นั้น ต้องเริ่มต้นด้วยเป้าหมายแห่งการปรับปรุง
หรือจะพูดอีกแง่หนึ่งคือเริ่มต้นด้วยปัญหาว่าคืออะไร
มิใช่การเริ่มต้นด้วยเครื่องมือหรือ การใช้เครื่องมือเป็นหลัก (Tool
Oriented) เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า องค์กรบอกว่าจะทำ TPM
จะทำ JIT หรือ จะทำ 6 Sigma ทั้งๆที่ยังมองไม่เป็นปัญหาอย่างชัดเจนที่จะเข้าไปแก้เลย
การกำหนด “Critical Issue” นั้น สามารถมาได้จากหลายทางเช่น นโยบายผู้บริหาร
ความต้องการของลูกค้า ปัญหาหลักที่องค์กรประสบอยู่ เช่น เป็นเรื่องของ กำลังการผลิต
(Capacity) , คุณภาพ (Quality)
, ต้นทุน (Cost) , การส่งมอบ (Delivery) เป็นต้น
หลังจากนั้น ในการปรับปรุงที่จะเกิดขึ้น
อาจารย์เสนอรูปแบบการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในลักษณะของการเริ่มต้นที่ “Pilot Area” คือ พื้นที่นำร่อง เครื่องจักรนำร่อง ผลิตภัณฑ์นำร่อง
แล้วจึงขยายผลไปยังส่วนอื่นๆ จนกระทั่งครอบคลุมทั้งองค์กร แนวคิดนี้สามารถเสนอได้ในแผนภาพด้านล่างคือ
วางแผนและจัด
ลำดับการผลิต
|
รับวัตถุดิบ
|
รับคำสั่งซื้อ
|
ผลิต
|
ส่งมอบ
|
เทคนิคแรก การวิเคราะห์กระบวนการ (Process Analysis) เมื่อพูดถึง ”กระบวนการ”
โดยทั่วไปเราคงนึกถึงขั้นตอนการทำงานที่เป็นไปในกระบวนการต่างๆ
แต่สิ่งที่อาจารย์เน้นว่าต้องมองถึงต่อมาด้วย คือความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ
ว่าเป็นไปอย่างไร และตรงจุดนี้ควรจะเขียนออกมาเป็นแผนภาพของกระบวนการ
เพื่อจะทำให้เข้าใจกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นภาพรวม ตัวอย่างที่แสดงไว้นี้เป็นการแสดงถึง
แผนภาพกระบวนการในระดับองค์กรหรือธุรกิจทั่วไป
แผนภาพนี้ ทำให้เห็นได้ว่ามีกระบวนการใดบ้างที่อยู่ในขอบเขตที่เราต้องการศึกษา
และมีการเรียงลำดับก่อนหลังอย่างไร ในกรณีที่กระบวนการเหล่านี้ยังมีกระบวนการย่อยๆอยู่อีก
ก็อาจจะนำมาเขียนขยายต่อไปได้
และถ้าสิ่งที่เราต้องการปรับปรุงนั้นมีข้อมูลสนับสนุนแยกตามแต่ละกระบวนการ
ก็จะยิ่งทำให้เห็นปัญหาลงไปได้ลึกและชัดเจนมากขึ้น
ในการบรรยาย อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง
การวิเคราะห์กระบวนการผลิตในบริษัทที่อาจารย์เป็นที่ปรึกษาอยู่
คือเป็นโรงงานผลิตฝาจีบ โดยอาจารย์ได้อธิบายถึงกระบวนการผลิต
และได้เขียนเป็นแผนภาพในลักษณะข้างต้น จากนั้นเก็บข้อมูลปัญหาคุณภาพที่เกิดขึ้นแยกตามแต่ละกระบวนการ
เพื่อให้เห็นได้ว่ากระบวนการใดเป็นปัญหาใหญ่
และจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการต่อไปได้
ในทางปฏิบัตินอกจากการแยกการวิเคราะห์ตามกระบวนการแล้ว
ในกรณีที่มีสินค้าหลายชนิดและกระบวนการแตกต่างกันไป
อาจจะมีการเก็บข้อมูลแยกตามรายผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปด้วย เพื่อการจัดลำดับปัญหาแยกตามรายผลิตภัณฑ์ในแนวคิดเดียวกัน
มาถึงตัวที่ 2 ครับ
คือ การจัดเก็บและแยกแยะข้อมูล (Stratified Data Collection) ในการบรรยายเรื่องนี้ อาจารย์กล่าวถึงเครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด (QC 7 Tools) โดยบอกว่าจริงๆแล้วแทนที่จะเป็น 7
ชนิด เครื่องมือคุณภาพควรจะเป็น 8 ชนิดมากกว่า
โดยแยก Control Chart และ Graph ออกจากกัน
เพราะลักษณะและวัตถุประสงค์การใช้แตกต่างกันมาก แต่การที่เป็น 7 ชนิด ตั้งแต่เริ่มต้นนั้น เป็นเหตุผลของการประชาสัมพันธ์ให้คนญี่ปุ่นในยุคนั้นจำได้ง่าย
เพราะคุ้นเคยกับเรื่องของนักรบญี่ปุ่นที่จะมีการพกอาวุธ 7 ชนิด
จึงนำมาเปรียบเทียบกับเครื่องมือคุณภาพด้วย
ประเด็นสำคัญถัดมา ที่อาจารย์ชี้ว่าเป็นจุดที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเครื่องมือคุณภาพคือ
ลำดับการใช้งานและการเรียงลำดับความสำคัญ
อาจารย์เน้นว่าในเครื่องมือทั้งหมดสิ่งที่ต้องคิดถึงเป็นลำดับแรกคือ Stratification หรือการจัดเก็บและแยกแยะข้อมูลนั่นเอง แล้วจึงนำไปสู่การใช้เครื่องมืออื่นๆต่อไป
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ การตีกรอบขอบเขตปัญหาได้ชัดเจนขึ้น
โดยข้อมูลนั้นอาจแยกแยะได้หลายลักษณะเช่น ตามชนิดวัตถุดิบ
ตามเครื่องจักรแต่ละเครื่อง พนักงานแต่ละคน สถานีงานแต่ละที่ ช่วงเวลาแต่ละกะ
ในเรื่องนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากกรณีโรงงานที่กล่าวไปว่า หลังจากกำหนดได้ถึงกระบวนการใหญ่ที่เป็นปัญหาแล้ว
เมื่อเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมพบว่า ในกระบวนการนี้มีเครื่องจักรอยู่ 5 เครื่องที่ทำงานลักษณะอย่างเดียวกัน
แต่กลับพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดถูกนำมารวมกัน ไม่มีการ “แยกแยะ” เป็นปัญหาคุณภาพที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรแต่ละเครื่อง
การดำเนินการเพื่อแยกแยะข้อมูล จึงเริ่มเข้าไปตั้งแต่กำหนดพื้นที่จัดเก็บของเสีย
ที่ต้องแยกที่มาจากแต่ละเครื่องจักรอย่างชัดเจน และเก็บข้อมูลแยกออกจากกัน ซึ่งจากข้อมูลที่ได้พบว่าอัตราของเสียนั้นแตกต่างกันอยู่มาก
เครื่องจักรที่มีอัตราของเสียสูงสุดคือเป้าหมาย ที่ถูกตีกรอบเข้ามาได้ชัดเจนขึ้น ในการเข้าไปดำเนินการแก้ไขครับ
เทคนิคที่ 3 ครับ
คือหลักที่เรียกว่า 3 Gen หรือ SAF หรือถ้าจะใช้ภาคภาคภาษาไทยก็คงเรียกได้ว่าเป็นหลัก
3 จริง
หรือถ้าจะใช้ภาษาพูดหน่อยในการสื่อถึงหลัก 3 Gen นี้ก็คือ อย่านั่งเทียน
เช่นในกรณีเมื่อครู่ ก็ต้องไปดูเครื่องจักรที่เป็นปัญหา
ดูลักษณะตัวอย่างของชิ้นงานของเสียที่เกิดขึ้น และดูในการปฏิบัติงานจริงเพื่อทำให้ทราบที่มาที่ไปของของเสียที่แท้จริงได้ต่อไป
3 Gen (ญี่ปุ่น)
|
SAF (อังกฤษ)
|
3 จริง
|
Genba
|
at Site
|
สถานที่ปฏิบัติงานจริง
|
Genbutsu
|
with Actual thing
|
ของจริง , ชิ้นงานจริง
|
Genjitsu
|
find Fact
|
ค้นหาความจริง , ข้อเท็จจริง
|
และตัวสุดท้ายในเรื่องการค้นหาปัญหาครับ คือหลัก 3 Mu ที่จะทำให้เห็นปัญหาที่บางครั้งเรามองข้ามไป
เพื่อเป็นจุดที่จะนำไปสู่การปรับปรุงด้วยการขจัดให้หมดไปหรือทำให้ลดน้อยลง
|
|
|
ตัวอย่าง
|
Muri
|
Un-natural
|
ไม่เป็นธรรมชาติ,หนักเกินไป
|
ทำงานด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม
ชั่วโมงการทำงานหนักเกินไป
วางของซ้อนกันหลายชั้น
สูงเกินไป
|
Mura
|
Un-even
|
ความไม่สม่ำเสมอ
|
ปริมาณงานที่บางวันสูง
บางวันต่ำ
ความผันผวนของอัตราเสีย
การรับวัตถุดิบที่เดี๋ยวน้อยไป
เดี๋ยวมากไป
|
Muda
|
Waste
|
ความสูญเสีย
|
วัตถุดิบ
(ของเสีย,ขณะตั้งเครื่อง,Stock เก่าเก็บ)
แรงงาน
(รอคอย,การแก้ไขงาน,ทำงานที่ไม่จำเป็น
เวลาการทำงาน
|
หลังจากทราบถึงเทคนิคหรือแนวคิดทั้ง 4 ของการค้นหาปัญหา
นะครับ มาถึงเนื้อหาในส่วนที่ 3 ที่ว่าด้วยเครื่องมือเพื่อ การแก้ปัญหา
(Problem Solving) ซึ่งจะประกอบไปด้วย
4 เรื่องเช่นเดียวกัน มาไล่ไปทีละตัวกันครับ
หลักข้อแรกคือ Best
Condition (สภาพที่ดี/เหมาะสม) ในข้อนี้อาจารย์เน้นว่า ไม่ได้หมายความถึงเครื่องจักร
เครื่องมือ วัตถุดิบ ที่ดีราคาแพง แต่เป็นการสร้างสภาพการณ์ที่ดี ด้วยทรัพยากรที่มี
โดยในที่นี้สามารถแยกแยะได้ตามหลัก 4M ซึ่งหากกระบวนการอยู่ในสภาพที่ดี ก็น่าจะมั่นใจได้ว่า
สินค้าหรือบริการที่ออกมาจากกระบวนการ จะเป็นสิ่งที่มีคุณภาพ
Man – พนักงาน
|
มีความรู้
ความสามารถ ปฏิบัติตามมาตรฐานงานที่กำหนด
|
Machine – เครื่องจักร เครื่องมือ
|
ระบบการบำรุงรักษาที่ดีด้วยวิธีการและความถี่ตามความเหมาะสม
และสามารถทราบได้ทันทีเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
|
Material –
วัตถุดิบ
|
มีคุณภาพ
ราคาเหมาะสม การส่งมอบตรงจำนวนและตรงเวลา ถูกจัดเก็บอย่างเหมาะสม
|
Method – วิธีการทำงาน
|
วิธี/มาตรฐานการทำงานที่ดี
|
ข้อที่ 2 ถัดมาคือ Flow Production/Operation (การผลิต/การปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง) ในเรื่องการค้นหาปัญหาได้พูดถึงแนวทางหนึ่งคือ
การวิเคราะห์กระบวนการ ที่ทำให้เห็นถึงลำดับของกระบวนการ เมื่อมาถึงในเรื่องนี้คือ
“Flow” ที่ถือเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญของระบบ JIT
- Just In Time ที่ทำให้ชิ้นงานในกระบวนการนั้นไหลอย่าง ”ต่อเนื่อง” เปรียบได้กับสายน้ำไหล
ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาสามารถไล่ได้ตั้งแต่ ไม่มีวัตถุดิบที่ต้องเก็บไว้นานๆ
งานระหว่างผลิต (Work In Process) ได้รับการควบคุมให้มีปริมาณตามความเหมาะสม
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปก็ได้รับการส่งมอบให้กับลูกค้าได้อย่างตรงต่อเวลา ไม่ล่าช้า
และไม่มีสินค้าเก่าเก็บ
มาถึงเทคนิคที่ 3 Visual
Control (การควบคุมด้วยการมองเห็น) หลักง่ายๆของ
Visual Control คือ การพูดถึงข้อมูลข่าวสาร (Information)
ที่จำเป็นต่อการทำงาน
ที่ได้รับการสื่อสารผ่านทางสายตาหรือการมองเห็น
โดยยึดหลักที่ว่าผู้พบเห็นต้องสามารถได้รับข้อมูล ในเวลา
และด้วยวิธีการที่เหมาะสมเข้าใจง่าย
เพราะวิธีการสื่อนั้นสามารถเลือกได้หลากหลายวิธี โดยอาจารย์ได้ขยายความแยกย่อยสิ่งที่ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้
3 ประการ โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์คือ
ก.) สำหรับผู้บริหาร หรือ Visual Report คือการพิจารณาถึงการจัดทำเอกสารรายงานผู้บริหารที่ต้องได้ใจความ
อ่านง่าย และ ประเด็นสำคัญหรือสิ่งผิดปกติ ต้องเน้นเพื่อแสดงให้เห็นชัดเจน
ในการบรรยายอาจารย์ได้ยกตัวอย่างรายงานแผ่นหนึ่งที่จัดทำเพื่อเสนอต่อผู้จัดการ
มีลักษณะข้อมูลที่บรรจุแน่นอยู่มาก แต่เมื่อต้องการทราบว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ จะดูได้ยากต้องใช้เวลาพิจารณา
ซึ่งอาจารย์เสนอว่ารายงานผู้จัดการดังกล่าวมีข้อมูลมากเกินไป
ใช้ข้อมูลเชิงสรุปก็เพียงพอ และตัวที่มีปัญหาก็ใช้เป็นตัวเข้ม ตัวสีแดง หรือวงไว้ เพื่อให้เห็นได้ชัดแตกต่างจากข้อมูลอื่นๆ
ข.) สำหรับควบคุมการปฏิบัติงาน หรือ For Shop-Floor Control เป็นข้อมูลที่จำเป็น ณ จุดปฏิบัติงาน
เช่น มาตรฐานการทำงานที่พนักงานเข้าใจและปฏิบัติตามได้ง่าย ป้ายให้ข้อมูลต่างๆ
การชี้บ่งพื้นที่จัดวางชิ้นงานและอุปกรณ์ต่างๆ
ค.) สำหรับการจูงใจให้ปฏิบัติงาน หรือ For Shop-Floor Motivation เป็นสิ่งที่คนทั่วไปมักจะนึกถึงเมื่อพูดถึง Visual Control คือ
บอร์ดที่ใช้เขียนแผนหรือเป้าหมายในการทำงาน และ
บันทึกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ เช่นปริมาณที่ทำได้ ของเสียที่เกิดขึ้น
ผลการบริการลูกค้า
มาถึงหลักการสุดท้ายที่ 4 ครับ ในเรื่องของการแก้ปัญหา ที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากและผมเชื่อว่าน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
คือ PDCA – Plan Do Check Act ซึ่งทำให้การดำเนินการ เป็นไปอย่างมีระบบ
ในการบรรยายอาจารย์ได้แยก การให้ความหมายออกเป็น 2 ลักษณะตามการใช้งานคือ
PCDA for Operation (การปฏิบัติงาน) และ PDCA by Setting Target (การตั้งเป้าหมายงาน)
|
PCDA for Operation
|
PDCA by Setting Target
|
Plan
|
ระบบ
มาตรฐานหรือวิธีการ ปฏิบัติงานในปัจจุบัน
|
วางแผนดำเนินการ
ตั้งเป้าหมายในการปรับปรุง
|
Do
|
การปฏิบัติงานประจำวัน
|
กิจกรรม /
การดำเนินการ เพื่อการปรับปรุง (ในขั้นนี้จะมีวงจร PDCA วงเล็กซ้อนทับอยู่ด้วย)
|
Check
|
ตรวจสอบผลลัพธ์งานที่เกิดขึ้นทั้งจากตนเองและผู้อื่น
รวมไปถึงข้อมูลจากลูกค้าด้วย
|
การตรวจสอบ
ติดตามผล การปรับปรุง
|
Act
|
ปรับปรุง ระบบ
มาตรฐาน วิธีการทำงานให้ดีขึ้น
|
การแก้ไขเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้
และนำไปสู่การตั้งเป้าหมายที่ดียิ่งขึ้นไป
|
ในเรื่อง PDCA นี้มีเกร็ดที่อาจารย์ได้เล่าให้ฟังอย่างน่าสนใจครับ
โดยบอกว่าในสไตล์ญี่ปุ่นนั้นจะให้ความสำคัญกับการวางแผน และใช้เวลาไปกับการวางแผนนานกว่าแบบตะวันตก
แต่เมื่อลงมือปฏิบัติแล้ว งานจะเป็นไปตามแผนและมีปัญหาให้ต้องแก้ไขน้อยกว่า ทำให้ใช้เวลาโดยรวมสั้นกว่าในที่สุด
ฟังแล้วก็ชวนให้นึกถึง แล้วแบบไทยๆเราล่ะครับ? บางคนอาจจะบอกไม่มี P-Plan ด้วยซ้ำ ลงมือลุยเลย ที่เรามักจะบอกว่าแบบ ลูกทุ่ง แล้วค่อยไปแก้ไขปัญหาเอา
ดาบหน้า แนวคิดนี้ ก็สะท้อนวิธีการทำงานที่เราน่าเรียนรู้ครับ
เนื้อหาหลักโดยรวมของการสัมมนาก็พอสรุปได้ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ครับ
ในช่วงท้ายได้เปิดโอกาสสำหรับช่วงคำถาม ผมขอหยิบ 2 คำถามที่น่าสนใจและคิดว่าผู้เข้าสัมมนาหลายคนให้ความสำคัญ
คำถามแรกบอกว่า การบรรยายมักจะพูดแต่การปฏิบัติในโรงงานเป็นหลัก
แล้วถ้าเป็นการบริการจะสามารถนำแนวคิด Kaizen ไปใช้ได้หรือไม่
อย่างไร ในข้อนี้อาจารย์ตอบว่า แม้ว่าจะเป็นงานบริการก็ต้องมีขั้นตอนงานหรือกระบวนการเช่นเดียวกันกับในโรงงาน
หลักการต่างๆที่พูดถึงไปแล้วนั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภาคบริการได้เช่นเดียวกันกับโรงงาน
และสามารถทำ Kaizen ได้เหมือนกัน
สำหรับภาพประกอบสุดท้ายที่เห็นอยู่ เป็นเอกสารประกอบการสัมมนาแผ่นสุดท้ายนะครับ
ผมนำมาแสดงให้เห็นในที่นี้ด้วย คงเป็นประโยคที่อาจารย์อยากจะสื่อสารจบท้าย
ว่าเรื่องที่พูดถึงกันมาทั้งหมดนั้น ด้วยความคิดเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ หรือ Positive Mind นั้น คือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
ในการทำให้ Kaizen นั้น นำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง
หากขาดไปแล้วแน่นอนว่า พลังแห่งการสร้างสรรค์พัฒนา ก็คงจะหดหายตามไปด้วยครับ
No comments:
Post a Comment