หากเอ่ยถึงรถยนต์ ”โตโยต้า” แล้ว ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดี
ในบ้านเรานั้น ส่วนแบ่งการตลาดของโตโยต้ากินเข้าไปถึงเกือบ 40% และมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาหลายปี
ทิ้งห่างอันดับ 2 อยู่พอสมควร และในบรรดาโรงงานโตโยต้าที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลกนั้น
หากจัดอันดับปริมาณการผลิตโดยไม่นับบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นแล้ว ประเทศไทยเป็นอันดับ 2
รองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
หลังจากที่บริษัทแม่ได้ตกลงย้ายฐานการผลิตรถกระบะ Vigo เข้ามาในประเทศไทย
เพื่อเป็นแหล่งผลิตและส่งออกไปทั่วโลก
สำหรับภาพรวมระดับโลกของโตโยต้า นิตยสาร Fortune ฉบับ Global 500 ที่พึ่งผ่านไป
ได้มีการจัดอันดับของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติมาทุกปี โดยวัดจากข้อมูลของปี
2004 ผมได้หยิบข้อมูลของบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์
5 อันดับแรก ข้อมูลเป็นไปตามตารางข้างล่างนี้ครับ
อันดับ
|
CORPORATION
|
รายได้
(ล้านเหรียญสหรัฐ) |
% รายได้เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
|
กำไร
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
|
อันดับ กำไร
|
จำนวนพนักงาน (คน)
|
1
|
General Motor
|
193,517
|
-0.9
|
2,805
|
7
|
324,000
|
2
|
Daimlerchrysler
|
176,687
|
12.8
|
3,067
|
6
|
384,723
|
3
|
|
172,616
|
12.7
|
10,898
|
1
|
265,753
|
4
|
Ford Motor
|
172,233
|
4.7
|
3,487
|
5
|
324,864
|
5
|
Volkswagen
|
110,649
|
12.2
|
842
|
15
|
342,502
|
ที่มา :
The Fortune Global 500 Vol.152,No.2 Jul 25,2005
จะพบว่าโดยรายได้แล้ว โตโยต้าอยู่ในอันดับ 3 รองจาก GM (General Motor) และ Daimlerchrysler โดยมี Ford เป็นอันดับ 4 ซึ่งหากเทียบกับปีก่อนนั้น “Big 3” หรือค่ายรถยนต์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน
3 ราย จะอยู่ในอันดับ 1-3 โดย Ford
นั้นอยู่ในอันดับ 2 แต่มาในปีนี้ถูกแซงจนต้องร่วงไปเป็นอันดับ
4 และเมื่อเทียบความเปลี่ยนแปลงกับปีก่อน GM มีปัญหามากเพราะรายได้ลดลง 0.9% ในขณะที่
โตโยต้ามีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 12.8% ในประเทศสหรัฐอเมริกาเองซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก
ส่วนแบ่งการตลาดของโตโยต้า เพิ่มขึ้นจาก 10.6% ในปี 1999
มาเป็น 14.7% ในปีล่าสุด สวนทางกับส่วนแบ่งที่ลดลงของ
GM
ข้อมูลที่น่าสนใจถัดมาคือผลกำไรครับ โตโยต้าอยู่ที่อันดับ
1 คือ กว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ ถ้าคิดเป็นเงินบาทเอา 40
โดยประมาณคูณเข้าไปก็ 4 แสนกว่าล้านบาท
โดยที่ผลกำไรนี้ ถ้าเอากำไรของ Big 3 คือ GM,Daimlerchrysler
และ Ford รวมเข้าด้วยกันแล้วก็ยังสู้โตโยต้าเจ้าเดียวไม่ได้ครับ!
ข้อมูลถัดมาคือจำนวนพนักงานก็น่าสนใจครับ ในขณะที่รายอื่นๆมีจำนวนพนักงาน
3 แสนคนขึ้นไปทั้งสิ้น แต่โตโยต้ามีพนักงานที่น้อยกว่า
คือประมาณ 2 แสน 6 หมื่นกว่าคน
ดังนั้นถ้าคำนวณความสามารถในการทำกำไรของพนักงาน 1 คน ตัวเลขที่ได้ของโตโยต้า
ก็จะยิ่งแตกต่างกันเหนือกว่าเจ้าอื่นๆยิ่งขึ้นไปอีก
ยอดขายทั่วโลกของโตโยต้าในปี 2004 อยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านคัน
และด้วยการเจริญเติบโตต่อเนื่อง เป้าหมายของบริษัทคือ ส่วนแบ่งตลาดโลก 15%
ภายในปี 2010 นั่นหมายความว่าน่าจะทำให้
โตโยต้ากลายเป็น ผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของโลก
แทนที่ General Motor!
เบื้องหลังผลประกอบการที่ดีเยี่ยมเช่นนี้
ได้มีการพูดถึงเป็นกรณีศึกษาอยู่มากมาย โดยเฉพาะ ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota
Production System) หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในเรื่องของ
JIT (Just In Time) การผลิตแบบทันเวลาพอดี และกลายเป็นรากฐานแนวคิดที่ฝรั่งจับมาแต่งตัวประแป้งใหม่กลายเป็น
Lean System ซึ่งเดี๋ยวนี้ตำราเรียนทางด้านการจัดการการผลิตในปัจจุบัน
ก็จะพูดถึงกันทั้งสิ้น และล่าสุด ท่านที่แวะตามร้านหนังสือก็จะเห็นหนังสือ Toyota
Way ที่พึ่งแปลเป็นภาษาไทยออกวางจำหน่าย ก็จะมีการพูดถึงแนวคิดและการปฏิบัติที่เป็นเลิศเหล่านี้อยู่เช่นกัน
สนใจลองไปหาอ่านกันดูครับ (แต่หัวข้อในหนังสือจะต่างกับ Toyota Way ที่เราจะพูดถึงต่อไปครับ)
แล้วข้างในบริษัทโตโยต้าเองล่ะครับ ได้มีการพูดถึงปรัชญาหรือแนวคิดในการทำงานของตนเองอย่างไร?
ในปี 2001 ก็ประมาณ 4
ปีมาแล้วนะครับ ประธานของ Toyota Motor Corp. คนก่อนหน้านี้คือ
Mr.Fujio Cho ก็ได้ประกาศ The Toyota Way
2001 เพื่อให้เป็นแนวทางร่วมกันของบริษัทในเครือโตโยต้าทั้งหมด และเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า
Toyota Way
(ประธานคนปัจจุบันชื่อ Katsuaki Watanabe
พึ่งรับตำแหน่งไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา)
ในการประกาศ Toyota Way นั้น Mr.Cho กล่าวว่า
ที่ต้องนำ Toyota Way
หรือวิถีของโตโยต้ามาพูดกันอย่างเป็นทางการก็เพราะว่า บริษัทเองในตอนนี้ได้เจริญเติบโตเป็นอย่างมาก
จนกลายเป็นองค์กรระดับโลก มีโรงงานโตโยต้า หรือบริษัทในเครือเกิดขึ้นมากมายในหลากหลายประเทศ
หลากหลายวัฒนธรรม
แต่เดิมปรัชญาพื้นฐานหรือแนวคิดในการทำงานมีจุดเริ่มต้นจากบริษัทแม่ในญี่ปุ่น
ที่เกิดจากการเรียนรู้ในการทำงานจริง และถ่ายทอดสู่พนักงานรุ่นต่อรุ่นด้วยความใกล้ชิดกันระหว่างพนักงานและผู้บริหาร สำหรับในปัจจุบัน ด้วยการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
วัฒนธรรมเหล่านี้อาจมีการเบี่ยงเบนไป จึงควรกำหนดปรัชญาดังกล่าวให้ชัดเจน
และสื่อสารอย่างเป็นทางการไปยังพนักงานทุกคนเพื่อให้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติหรือวัฒนธรรมองค์กรของโตโยต้าทั่วโลก
ภายใต้ปรัชญาของ “Toyota Way ” และใช้เป็นแบบแผนร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ Mr.Cho เน้นย้ำคือ Toyota
Way ไม่ใช่ Japanese Way หรือเป็นแนวทางญี่ปุ่น แต่เป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานใช้ได้กับ Toyota ทั่วโลก
นอกจากนั้นต้องไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง และได้รับการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวคิดของ Kaizen ที่เราจะได้พูดถึงกันต่อไปครับ
ความจริงแล้วเนื้อความของ Toyota Way ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นหลักการที่ผมคิดว่าหลายๆท่านก็คงจะเคยได้ยินกันอยู่แล้ว
แต่ถูกนำมาตอกย้ำกันอีกครั้ง ลองมาดูรายละเอียดที่ทางโตโยต้ากำหนดกันครับ
Toyota Way แบ่งออกเป็น 2 เสาหลัก คือ ”การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)“ และ “การเคารพนับถือในคน (Respect for
People)” ข้อที่น่าสังเกตคือ ในเสาหลักที่ 1 นั้นจะเป็นการพูดถึงในมุมมองของ ”งาน” การปรับปรุงพัฒนางานด้วยความคิดที่ไม่เคยพอใจกับสภาพในปัจจุบันและแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าอยู่ตลอดเวลา
ด้วยความคิดที่สร้างสรรค์ และการทุ่มเทความพยายาม ในขณะที่เสาหลักที่ 2 จะเป็นการพูดถึง ”คน” หรือพนักงานในองค์กรนั่นเอง ซึ่งมาจากความเชื่อที่ว่า
ความสำเร็จในธุรกิจนั้นมาจากการสร้างสรรค์ของพนักงานแต่ละคน และยิ่งมีพลังมากขึ้น เมื่อรวมตัวกันขึ้นมาเป็นทีมที่เข้มแข็ง
WAY
|
Continuous
Improvement
|
Challenge
|
Kaizen
|
Genchi /
Genbutsu
|
Respect
|
Teamwork
|
Respect
For People
|
จาก 2 เสาหลักนี้ก็ยังแบ่งย่อยออกไปเป็นอีก
5 เรื่องย่อยคือ Challenge , Kaizen, Genchi/Genbutsu, Respect และ Teamwork
แนวคิดหลักของแต่ละตัวจะอยู่ในกรอบด้านล่างนี้ครับ
§
สร้างสรรค์คุณค่าให้กับลูกค้าผ่านการผลิตและการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
§
จิตวิญญาณแห่งการท้าทาย
ความมุ่งมั่นอย่างสร้างสรรค์
§
มุมมองระยะยาว
ความยั่งยืน
§
การพิจารณา
การตัดสินใจ อย่างรอบคอบ คำนึงถึงความเสี่ยง
Kaizen – เราปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ไม่หยุดยั้ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนา และการเจริญเติบโต
§
จิตวิญญาณแห่งการปรับปรุง
และ ความคิดพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
§
สร้างระบบและการทำงานที่ปราศจากความสูญเสีย
(Lean)
§
รณรงค์ส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้
Genchi Genbutsu - เราปฏิบัติตามแนวคิด
Genchi Genbutsu ..ไปที่ต้นตอหรือแหล่งกำเนิด
เพื่อดูสภาพที่แท้จริง ค้นหาข้อเท็จจริง ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
โดยการหาฉันทามติร่วมกันของทีม และสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วที่สุด
§
การสร้างฉันทามติอย่างมีประสิทธิผล
§
มุ่งมั่นต่อการบรรลุเป้าหมาย
Respect - เราเคารพนับถือ
ให้เกียรติ พยายามทำความเข้าใจผู้อื่น ร่วมรับผิดชอบ
และทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อสร้างความเชื่อถือร่วมกัน (Mutual Trust)
§
ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร (Stakeholders)
§
ความเชื่อถือและความรับผิดชอบร่วมกัน
§
การสื่อสารอย่างจริงใจ
เปิดเผย
Teamwork - เรากระตุ้น สนับสนุนและสร้างโอกาส ต่อการเจริญเติบโต พัฒนา
ในส่วนบุคคลและอาชีพการงาน ควบคู่ไปกับผลการทำงานที่ดีที่สุด ทั้งของตัวพนักงานเองและทีม
§
ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและการพัฒนาของพนักงาน
§
นับถือความเป็นส่วนบุคคล
พร้อมกันกับตระหนักถึงพลังของทีม
ในคำประกาศนั้นได้มีการบันทึกคำกล่าวของบุคคลสำคัญของโตโยต้าที่น่าสนใจ
ผมลองเลือกมาฝากด้วยครับ
“การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เป็นส่วนหนึ่งของวิถีทางแห่งการทำงานในทุกๆวันของเรา
นั่นเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการผลิตของโตโยต้า ซึ่งขึ้นอยู่กับพนักงานทุกๆคน
(Alex Waren, Former Senior Vice President, TMMK)
“เข้าไปสังเกตที่บริเวณกระบวนการผลิต
ด้วยจิตใจที่เปิดรับสิ่งที่พบ ไม่คิดทึกทักหรือคาดการณ์ไปก่อน จากนั้นให้ถาม “ทำไม” 5 ครั้ง (5 Why) ในทุกเรื่อง” (Taiichi Ohno)
“ผมเชื่อว่าลูกค้าของเราซื้อโตโยต้า
เพราะว่าคุณภาพในทุกส่วนของบริษัท แน่นอนว่าประการแรกคือผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพ
แต่มากไปกว่านั้นคือกระบวนการทำงานในด้านอื่นๆทั้งหมด
การออกแบบ,วิศวกรรม,การบริหารจัดการ และการจัดจำหน่าย (Robert B.McCurry
Former Executive Vice President,, Toyota
Motor Sales)
“พนักงานคือสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของโตโยต้า
และเป็นสิ่งที่ชี้ถึงความรุ่งโรจน์หรือตกต่ำของบริษัท และในเมื่อพนักงานคือผู้สร้างรถยนต์
ดังนั้นพนักงานจะเริ่มลงมือได้ก็ต่อเมื่อเขาได้รับการอบรมและพัฒนาที่เพียงพอแล้ว (Eiji
Toyoda)
จากความสำเร็จที่ผ่านมาของโตโยต้า หากมองต่อไปในอนาคต นับเป็นสิ่งที่ท้าทายบริษัทอย่างยิ่งว่าจะรักษาความสามารถนี้ไว้ได้ต่อไปหรือไม่
ในนิตยสาร Time ฉบับเดือนสิงหาคม
มีบทสัมภาษณ์ ประธานคนใหม่ Mr.Katsuaki Watanabe ที่สะท้อนถึง
Toyota Way
ผมเรียบเรียงมาฝากส่งท้ายตรงนี้ครับ
คำถาม : โตโยต้าจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ท่านเองเรียกว่า “โรคของธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ (Big Business Disease)” หรือการลำพองใจกับความความสำเร็จที่ผ่านมาได้อย่างไร
คำตอบ : ทุกคนไม่ควรพอใจกับสิ่งที่เป็นไปในปัจจุบัน
และควรพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่า
ยังมีสิ่งที่ดีกว่าอยู่เสมอที่เราจะตั้งเป้าหมายไปให้ถึง นี่คือสิ่งที่ต้องอยู่ในพื้นความคิดของพนักงานทุกคน
ถ้าเมื่อใดที่คุณเติบโตแล้วพอใจในสภาพที่เป็นอยู่ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง
คำถาม : กำไรของโตโยต้าเหนือกว่ากำไรของ “Big 3”
รวมกัน ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
คำตอบ : ที่โตโยต้า เราทุกคนทำงานกันเป็นทีม แม้แต่กับผู้ส่งมอบ (Supplier) เราจะมองว่านี่คือพันธมิตรในธุรกิจของเรา
รถคันนี้น่ารักเกินไปเหมาะสำหรับผู้หญิง โตโยต้ายังมีรถที่มีรูปลักษณ์ป่าที่เหมาะสมสำหรับผู้ชาย 2020 Toyota Hilux REVO Rocco แนะนำให้ทุกคน
ReplyDeleteตอนนี้หลายๆบริษัทก็พยายามนำมาประยุกต์ใช้
ReplyDeleteโปรโมชั่น โตโยต้า
diamond meaning
ReplyDeleteFind diamond meaning at titanium sheet Tithroid.com where you can get it in the does titanium tarnish United States, where you can also find titanium white dominus price online dating and casino What's the beauty of a titanium ion color diamond?How ion titanium on brassy hair to pick a diamond for a girl?
i037b7ojigr301 horse dildos,wolf dildo,male masturbator,realistic dildo,male masturbators,dildos,realistic dildo,dildos,realistic dildo y704q1qwafh272
ReplyDelete